นาฬิกาชีวภาพ หรือนาฬิกาชีวิต มีหน้าที่ในการบริหารระบบภายในร่างกายให้ทำงานสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมของธรรมชาติโดยทำงานเป็นวงจรและใช้ระยะเวลา 24 ชั่วโมง ซึ่งมีการแบ่งเวลาเป็น ช่วงสว่าง(กลางวัน) กับ ช่วงมืด(กลางคืน) บางอวัยวะทำงานได้ดีในช่วงกลางวัน และบางอวัยวะก็ทำงานได้ดีในช่วงกลางคืน
การนอนดึก เป็นสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลต่อการทำงานภายในร่างกาย นาฬิกาชีวิตช่วงกลางคืนมักเป็นเวลาที่ร่างกายฟื้นฟูหรือซ่อมแซมส่วนต่างๆ ทว่าการอดนอน หรือนอนไม่พอจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้หลายประการ
1. อ้วนง่ายขึ้น
การนอนหลับของเรามีผลกับฮอร์โมนที่ควบคุมความรู้สึกอยากอาหาร 2 ตัว ตัวหนึ่งคือ เกรลิน (Ghrelin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนกระตุ้นความหิว และอีกตัวคือ เล็ฟติน (Leptin) เป็นฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกอิ่ม และเพิ่มอัตราการเผาผลาญ คนที่นอนน้อยจะหิวบ่อย กินเยอะ และก็อ้วนได้ง่ายกว่า ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง โรคไต และอื่นๆ
2. การนึกคิดและตอบสนองช้าลง
ผลของการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้สมองมีการรับรู้ ความจำ และเรียนรู้ได้ช้าลง หรือเริ่มมีอาการหลงลืม รวมไปถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายจะทำได้ช้าลงไปด้วย
3. ระบบภูมิคุ้มกันน้อยลง
เมื่อนอนน้อยจะทำให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกาย ทำให้การฟื้นฟูและซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ที่สึกหรอผิดแปลกไปจากปกติ ผลที่เกิดขึ้นคือ แผลหายช้า รวมถึงร่างกายจะติดเชื้อง่ายขึ้น
4. อายุสั้นลง
การนอนน้อยกว่า 5-7 ชั่วโมง จะเสี่ยงเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้สูงกว่าคนทั่วไป ทำให้เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้เร็วกว่าคนอื่นได้เช่นกัน
5. แก่เร็วขึ้น
เมื่อร่างกายเราได้รับการพักผ่อนน้อยจะมีการผลิตฮอร์โมนเครียดชื่อ คอร์ติซอล (Cortisol) ออกมาเพื่อยับนั้งการสร้างคอลลาเจนในผิว ทำให้ผิวเกิดริ้วรอย และผิวไม่สดใส
ดังนั้นการดูแลตัวเอง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และรับประทานอาหารเป็นประโยชน์จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคภัยค่ะ
ที่มา : บ้านสุขภาพล้างพิษตับ.blogspot.com, www.sso.go.th, www.myfirstbrain.com, health.kapook.com, www.dek-d.com, social.tnews.co.th, www.lovefitt.com, webboard.yenta4.com, irrigation.rid.go.th, www.naewna.com