กฎหมายการแพทย์ > ความรับผิดของอาจารย์แพทย์กรณีนักศึกษาแพทย์ทำละเมิดผู้ป่วย |
|
|
โพสเมื่อ : 6 พฤษภาคม 2560 | โดยทีมงาน : doctorsiam.com |
หลายคนคงสงสัยว่าถ้านักศึกษาแพทย์ทำละเมิดผู้ป่วยอาจารย์แพทย์ผู้ควบคุมดูแลจะต้องรับผิดชอบในทางแพ่งด้วย มากน้อยเพียงใด ใน
เรื่องนี้เท่าที่ทราบยังไม่เคยมีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาออกมาเป็นบรรทัดฐาน
บทความนี้ขอเสนอแนวคิดของผู้เขียนเองซึ่งมีพื้นฐานจากหลักกฎหมาย การตีความกฎหมาย และแนวคำพิพากษาฎีกาของกรณีที่ใกล้เคียงกัน และ
อยากเรียนท่านผู้อ่านให้ทราบว่า
คดีที่บางครั้งคนทั่วไปมองว่าเป็นเรื่องเดียวกันแต่ในทางกฎหมายถ้ามีข้อเท็จ
จริงต่างกันเพียงเล็กน้อยก็อาจทำให้ผลของคดีแตกต่างกันได้ ในเบื้องต้นขอกล่าวถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้ 1) กรณีกฎหมายให้ร่วมรับผิดเพราะถือว่าเป็นครูอาจารย์ผู้ดูแล ป.พ.พ.มาตรา 430 บัญญัติว่า “ ครูบาอาจารย์ นายจ้าง หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลผู้ไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วครั้งชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าหากพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร” หลักเกณฑ์ความผิดตามมาตรานี้ คือ - ผู้ไร้ความสามารถทำละเมิด ( ผู้ไร้ความสามารถคือผู้ที่กฎหมายเห็นว่ามีความบกพร่องในความสามารถเช่นผู้เยาว์ คนวิกลจริต คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ) ซึ่งหากปรับใช้กับกรณีนี้ก็หมายถึงนักศึกษาแพทย์ (นศพ.)ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะได้ทำละเมิดต่อผู้ป่วย - มีครูบาอาจารย์ทำหน้าที่ดูแลผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งกรณีนี้ก็หมายถึงว่ามีอาจารย์แพทย์ที่มีหน้าที่ดูแล นศพ.ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ - ขณะผู้ไร้ความสามารถกระทำละเมิดนั้นเขาอยู่ในความดูแลของครูอาจารย์ -
ผู้เสียหายต้องเป็นฝ่ายพิสูจน์ว่าอาจารย์แพทย์ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังตาม
สมควร (ภาษากฎหมายใช้ว่าภาระพิสูจน์ตกอยู่กับฝ่ายผู้เสียหาย (โจทก์)) ซึ่งถ้าโจทก์พิสูจน์ได้ อาจารย์แพทย์ก็ต้องร่วมรับผิด ส่วนจะรับผิดเพียงใดนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับว่า ตนมีอำนาจหน้าที่ดูแลมากน้อยเพียงใดด้วย ปัญหามีอยู่ว่าศาลจะรับเอามาตรา 430 นี้มาใช้กับกรณีอาจารย์แพทย์ - นักศึกษาแพทย์ดังกล่าวหรือไม่เพราะเคยมีผู้กล่าวไว้ในตำราทางกฎหมายว่า“อาจารย์
ในมหาวิทยาลัยเป็นเพียงผู้ให้การศึกษาไม่ได้เป็นผู้รับดูแลผู้ไร้ความสามารถ
จึงไม่อยู่ในบังคับมาตรานี้ด้วยความเคารพในความเห็นดังกล่าวโดยส่วนตัวแล้ว
ผู้เขียนมีความเห็นว่าคำกล่าวข้างต้นน่าจะใช้ได้เฉพาะกรณีอาจารย์ใน
มหาวิทยาลัยปกติที่มีหน้าที่สอนทฤษฎีเป็นหลักถ้าจะมีการสอนปฏิบัติก็มัก
กระทำในห้องปฎิบัติการไม่ได้กระทำกับคนแต่ถ้าเป็นกรณีที่เป็นอาจารย์ที่สอน
วิชาชีพที่มีการปฏิบัติกับคน
เช่นอาจารย์แพทย์อาจารย์พยาบาลก็น่าจะถือว่าอาจารย์ในวิชาชีพเหล่านี้มีหน้า
ที่ดูแลลูกศิษย์ตามความหมายของมาตรา430ด้วย ข้อสังเกต - ถ้านักศึกษาแพทย์บรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ไม่สามารถอ้างมาตรา 430 นี้เพื่อเอาผิดกับอาจารย์แพทย์ได้ แต่อาจใช้หลักเรื่องตัวการ-ตัวแทน หรือใช้มาตรา 420 ที่เป็นบททั่วไป (ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดต่อไป) - กรณีที่เป็นสถาบันการศึกษาของภาครัฐ ต้องอยู่การใต้บังคับของ “พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ซึ่งมีผลให้อาจารย์แพทย์ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้รับความคุ้มครอง โดยผู้เสียหายไม่สามารถฟ้องอาจารย์แพทย์ได้โดยตรง ต้องฟ้องหน่วยงานรัฐเท่านั้น 2) กรณีกฎหมายให้ร่วมรับผิดฐานที่เป็นตัวการให้ผู้อื่นทำการแทน ป.พ.พ.มาตรา 427 ประกอบ 425 วางหลักไว้ว่า “ ตัวการต้องร่วมรับผิดกับตัวแทนในผลแห่งละเมิดซึ่งตัวแทนได้ทำลงไปในกิจการที่ตัวการมอบหมายให้ทำแทน” คำว่า “ ตัวการ” หมายถึง บุคคลซึ่งมอบอำนาจหรือมอบหมายให้บุคคลอื่นทำการใดแทนตน คำว่า “ ตัวแทน” หมายถึง บุคคลซึ่งมีอำนาจทำการแทนตัวการตามที่ได้ถูกมอบหมาย โดยการแต่งตั้งตัวแทนนั้นอาจแต่งตั้งโดยชัดแจ้ง โดยปริยาย ก็ได้ อีกทั้งอาจเป็นในรูปแบบของตัวแทนเชิด หรือ ตัวแทนที่ตัวการให้สัตยาบันแล้วก็ได้ ( ป.พ.พ. มาตรา 821 ,822 ,823 ) จากหลักกฎหมายดังกล่าวเมื่อนำมาปรับเข้ากับกรณีอาจารย์แพทย์-นศพ. อาจารย์แพทย์อาจต้องรับผิดในฐานะที่เป็นตัวการต่อเมื่อ - มีการตั้ง นศพ. เป็นตัวแทนให้ไปทำการปฏิบัติต่อผู้ป่วย โดยการตั้งตัวแทนอาจตั้งโดยแสดงออกชัดเจน หรือ ตั้งโดยปริยายก็ได้ หรือแม้แต่กรณีไม่ได้แต่งตั้ง แต่นศพ.ได้ปฏิบัติแทนโดยอาจารย์แพทย์ก็ไม่ได้ว่าอะไรอย่างนี้ทางกฎหมายเรียกว่า “ตัวแทนเชิด” - นศพ.
ทำละเมิดภายในขอบอำนาจของการเป็นตัวแทน ซึ่งหมายความว่าถ้า นศพ.
ทำนอกเหนือขอบเขตที่อาจารย์แพทย์มอบหมาย ถ้าเกิดความเสียหาย
อาจารย์แพทย์ไม่ต้องรับผิดฐานเป็นตัวการ ตัวอย่างเช่น นาย พอ เป็นอาจารย์แพทย์ ได้มอบหมายให้ นศพ ปอ ไปเย็บแผลผู้ป่วยชื่อสวย แต่นศพ. ปอ กลับไปเย็บแผลให้ นางสุด กรณีนี้หากเกิดความเสียหายต่อนางสุด นายพอก็ไม่ต้องรับผิดชอบในฐานะตัวการ (แต่นายพอ อาจต้องรับผิดตามป.พ.พ.มาตรา 430 หรือ 420 ซึ่งต้องดูข้อเท็จจริงอื่นประกอบ) ข้อสังเกต - กรณีที่เป็นสถาบันการศึกษาของภาครัฐ ต้องอยู่การใต้บังคับของ “พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ซึ่งมีผลให้อาจารย์แพทย์ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้รับความคุ้มครอง โดยผู้เสียหายไม่สามารถฟ้องอาจารย์แพทย์ได้โดยตรง ต้องฟ้องหน่วยงานรัฐเท่านั้น - หลักความรับผิดของอาจารย์แพทย์ในกรณีนี้สามารถใช้ได้โดยไม่สนใจว่า นศพ.จะบรรลุนิติภาวะแล้ว หรือไม่ สรุป ที่มา : นพ. วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี |
|
|
กฎหมายการแพทย์อื่นๆ Warning: Use of undefined constant CONFIG_PREFIX - assumed 'CONFIG_PREFIX' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /home/prakanbi/domains/doctorsiam.com/public_html/class/db.class.php on line 24 - ความรับผิดของอาจารย์แพทย์กรณีนักศึกษาแพทย์ทำละเมิดผู้ป่วย - ฟ้องหมอไม่ได้แล้วจะฟ้องใคร? - ข้อบังคับแพทยสภา : ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม - พรบ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ผลกระทบต่อวงการแพทย์และสุขภาพ - ร่างพระราชบัญญัติยา |
ความคิดเห็นที่ : 1 ความรับผิดของอาจารย์แพทย์กรณีนักศึกษาแพทย์ทำละเมิดผู้ป่วย |
|
Warning: Use of undefined constant CONFIG_PREFIX - assumed 'CONFIG_PREFIX' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /home/prakanbi/domains/doctorsiam.com/public_html/class/db.class.php on line 24 ![]() |
Warning: Use of undefined constant CONFIG_PREFIX - assumed 'CONFIG_PREFIX' (this will throw an Error in a future version of PHP) in /home/prakanbi/domains/doctorsiam.com/public_html/class/db.class.php on line 24 Fatal error: Uncaught Error: Call to undefined function eregi_replace() in /home/prakanbi/domains/doctorsiam.com/public_html/class/main.class.php:590 Stack trace: #0 /home/prakanbi/domains/doctorsiam.com/public_html/main/article/view.php(359): mainClass->rude_word('\xE0\xB8\x82\xE0\xB8\xAD\xE0\xB8\x9A\xE0\xB8\x84\xE0\xB8\xB8...') #1 /home/prakanbi/domains/doctorsiam.com/public_html/article.php(279): include('/home/prakanbi/...') #2 {main} thrown in /home/prakanbi/domains/doctorsiam.com/public_html/class/main.class.php on line 590 |